ผศ.ดร.สุภาวดี เชื้อพราหมณ์ : เส้นทางความคิดและการทำงาน ในบทบาทการเป็นครูและนักวิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้

Post Views: 283 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวดี เชื้อพราหมณ์ มีความสนใจสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้ นับตั้งแต่ศึกษาในระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก และเป็นอาจารย์ท่านแรกๆที่ร่วมก่อตั้งสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ หลักสูตรสถาปัตยกรรมบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จนถึงปัจจุบันยังคงมีความสนใจและตั้งใจที่จะศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้ควบคู่กับการสอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวดี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นสถานที่บ่มเพาะความรู้ทางด้านศิลปะ สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่ตั้ง ตลอดเวลาที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวดี ยังเป็นนักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรม ได้ตั้งคำถามกับตัวเองว่า ภาคใต้มีสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่า อันเป็นอัตลักษณ์ของภาคใต้จำนวนมาก แต่เหตุใดจึงไม่มีสถาบันการเรียนการสอนสาขาสถาปัตยกรรมในระดับปริญญาตรี (ในสมัยนั้น) เพื่อผลิตบัณฑิตที่ออกแบบอย่างเข้าใจความเฉพาะตัวของภูมิภาคและพัฒนางานวิจัยที่เป็นฐานการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เป็นหลักของภาคใต้ดังเช่นภาคเหนือหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เป็นหลักในการฟื้นฟูและต่อยอดภูมิปัญญาทางสถาปัตยกรรมเหล่านั้นให้ดำรงอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย จนใกล้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจึงได้ทราบข่าวโครงการจัดตั้งสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งได้ตัดสินใจมาสมัครงานที่นี่ตามความตั้งใจ และยังไม่รู้ว่าตนเองต้องมามีส่วนในการผลักดันโครงการดังกล่าวให้เกิดขึ้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวดี เริ่มแรกได้มาเป็นอาจารย์ประจำสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในปี 2548 เพื่อจัดทำโครงการก่อตั้งสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ และขับเคลื่อนหลักสูตรสถาปัตยกรรมบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม ซึ่งทั้งโครงการก่อตั้งและหลักสูตรแรกสำเร็จและเปิดดำเนินการได้ในปี 2549 ด้วยคำแนะนำจากรองศาสตราจารย์สิทธิพร ภิรมย์รื่น ที่ปรึกษาโครงการ และความกรุณาจากอาจารย์ผู้ใหญ่ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จากหลายสถาบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสตราจารย์อรศิริ ปาณินท์ และศาสตราจารย์วีระ อินพันทัง … Continue reading ผศ.ดร.สุภาวดี เชื้อพราหมณ์ : เส้นทางความคิดและการทำงาน ในบทบาทการเป็นครูและนักวิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้